
เส้นเรื่องรัฐธรรมนูญเดินมาถึง “จุดตัด”และระหว่างทางที่เต็มไปด้วย “อุบัติเหตุ” ที่ไม่คาดฝัน ก่อนถึงปลายทางการแก้รัฐธรรมนูญ
“ประชาชาติธุรกิจ” สัมภาษณ์พิเศษ “พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค” ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี สวมหมวกประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาหลักเกณฑ์และแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 “พีระพันธุ์” ไม่ขอออกความเห็นถึง 10 ข้อเสนอในวันที่ 10 สิงหาคม 2563 และของกลุ่มนักเรียน นิสิตและนักศึกษา 3 ข้อ 1.หยุดคุกคามประชาชน 2.ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ และ 3.ยุบสภา
Q : การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะสำเร็จราบรื่น ไม่มีอุบัติเหตุ
ถ้าทุกฝ่ายเอาประโยชน์ของชาติบ้านเมืองและประชาชนเป็นที่ตั้ง ประเทศชาติโดยรวมได้ประโยชน์ไหม อย่ามองแต่ว่า พรรคเราจะมีสิทธิดีกว่าคนอื่นไหม พรรคเราจะได้ประโยชน์ไหม ถ้าไม่มีตรงนี้ ทุกอย่างก็จะไปอย่างราบรื่นรัฐธรรมนูญประกอบไปด้วยหลายเรื่อง เกี่ยวข้องกับประชาชนและการเมือง ใน กมธ.เราไม่ได้เน้นแต่เรื่องของการเมือง เราเน้นเรื่องเกี่ยวกับประชาชนด้วย
“ในส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง ถ้าถึงเวลาก็ต้องคุย เช่น ระบบการเลือกตั้ง วิธีการเลือกตั้ง ส.ว. แต่ไม่ใช่ว่า ประชุมมาตั้งกี่เดือน คุยกันแต่เรื่องนี้ ไม่ใช่”
Q : จะเกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญก่อนไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่
ไม่มีใครตอบได้ อยู่ที่สังคมต้องช่วยกันไม่คิดว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น แต่หวังว่า ทุกฝ่ายจะร่วมมือกันทำงานเพื่อชาติ
Q : มีเรื่องอะไรที่จะออกมาประคับประคองไม่ให้เกิดอุบัติเหตุระหว่างทาง
สถานการณ์ตอนนี้คงจะไม่มีอุบัติเหตุอะไร ถ้าทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ไม่มีใครอยากเห็นชาติบ้านเมืองล่มจม ล่มสลาย อย่าทำให้บ้านเมืองไปถึงจุดนั้น
Q : ข้อสรุปของ กมธ. แก้รัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราหรือทั้งฉบับ
กมธ.ชุดนี้ ไม่ได้บอกว่าให้แก้ หรือไม่แก้ เพียงศึกษาข้อดีและข้อเสียของรัฐธรรมนูญ เราคิดว่ารัฐธรรมนูญน่าจะปรับปรุงแก้ไข แต่ไม่ได้บอกว่า ต้องแก้อย่างนั้น ต้องแก้อย่างนี้
Q : มาตรา 256 เป็นกุญแจดอกแรกไขประตูแก้รัฐธรรมนูญ
ไม่ต้องแก้มาตรา 256 ก็แก้รัฐธรรมนูญได้ เพียงแต่กระบวนการ ขั้นตอนมันเยอะ มันยุ่ง มันยาก เขาเลยคิดว่าจะแก้ให้มันง่ายขึ้น ไม่ได้หมายความว่าถ้าไม่แก้มาตรา 256 จะแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้
ประเด็น คือ ปรับปรุงถ้อยคำและเงื่อนไขให้คลายลงมา จะสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญง่ายขึ้น การทำรายงานของ กมธ. เหมือนตำราทางวิชาการ ต้องมีความเห็นของทุกฝ่าย เพราะผลการศึกษาคือ คนจำนวนข้างมากเห็นอย่างนี้ คนจำนวนข้างน้อยเห็นอย่างนี้
“แต่เรามีภาคผนวกเพื่อให้เห็นว่า เราสรุปตรงนี้ ไม่ได้คิดเอง ไม่ได้เขียนเอง มีจำนวนคนที่อภิปรายสนับสนุน มีหลักอ้างอิงเสริม ปกติรายงาน กมธ.จะไม่มีตรงนี้ แต่เราจะมีตรงนี้เพิ่มมาให้ด้วย”
นอกจากนั้นยังมีสิ่งที่ไปรับฟังมาจากประชาชน แบ่งเป็นประเภทอาชีพ เปิดกว้างให้กับน้อง ๆ นักศึกษา ไปพบที่มหาวิทยาลัย นักศึกษากลุ่มไหนมีความคิดเห็น เสนอแนะอะไรไว้บ้าง ใส่ไว้หมดเพื่อไม่ให้เสียของไป อย่างน้อยมีไกด์ไลน์สำหรับปรับแก้
ผมไม่เข้าใจว่า 1.กมธ.ไปรับฟังความคิดเห็น 2.เปิดเวทีให้เขามาพูด และ 3.รับข้อเสนอเป็นหนังสือ ที่สำคัญส่งไปให้คณะอนุ กมธ.ชุดรับฟังความคิดเห็น ที่มีนายวัฒนา เมืองสุข เป็นประธาน รับไปพิจารณา “ท่านวัฒนาก็มีที่ปรึกษา ซึ่งก็คือคุณเพนกวินรู้ขั้นตอนการทำงาน รู้อยู่แล้วว่าสภารับฟัง รู้อยู่แล้วว่า รายงานนี้ก็ต้องส่งไปยังรัฐบาล แต่ทุกอย่างมีพีเรียด มีขั้นตอน ไม่เข้าใจว่าหยิบขึ้นมาเป็นประเด็นเพื่ออะไร”
Q : อารมณ์ของนักศึกษาเหมือนกับว่าฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายนิติบัญญัติ ไม่นำพาต่อข้อเสนอการแก้รัฐธรรมนูญ
(สวนทันที) ผมว่าไม่ใช่ เพราะที่ผ่านมาไม่เคยเห็นว่าเป็นเด็ก ไม่เคยไม่รับฟัง เราไปหาเขา เขามาหาเรา เรารับฟังตลอด และผมเป็นคนไปรับหนังสือเอง จะมาบอกว่า ประธาน กมธ.ไม่ร่วมมือ หรือ กมธ.ไม่ร่วมมือได้อย่างไร
“ทุกคนต้องรู้สิ ก่อนจะเข้า ป.1 ก็ต้องไปอนุบาล จะเข้ามหา”ลัยก็ต้องจบเตรียมอุดมศึกษา ก่อนจะรัฐบาลก็ต้องจบรัฐสภา มีขั้นตอน สภาประชุมกันตลอด กมธ.ไม่ได้ดึง หรือถ่วงเวลาเลย เพราะฉะนั้นไม่มีเหตุผลที่จะมาบอกว่า ไม่นำพาเรื่องเหล่านี้ ไม่ใส่ใจ ไม่ใช่เลย”
Q : ม็อบนักศึกษาเป็นตัวเร่งเร้าหรือไม่
(สวนทันที) ไม่เกี่ยวเลย พวกผมทำงานไม่ได้สนใจอิทธิพลจากเรื่องม็อบ หรือเรื่องใครเลย ทำตามไทม์ไลน์ ถ้าไม่มีเรื่องโควิด-19 เสร็จไปตั้งแต่เดือนมีนาคมแล้ว
Q : ข้อเรียกร้องแก้ที่มา-อำนาจ ส.ว. รัฐบาลมีความจริงจังแก้รัฐธรรมนูญแค่ไหน
ผมตอบแทนรัฐบาลไม่ได้ แต่ในส่วนของ กมธ.นำความเห็นนี้มาพิจารณา และเป็นที่มาของข้อเสนอแก้ไขมาตรา 256 แต่ไม่ใช่เป็นเพราะมาจากการเรียกร้องจากม็อบนักศึกษา
“แม้แต่ ส.ส.เอง ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลจำนวนหนึ่งก็เสนอเหมือนกันให้แก้ประเด็นนี้ ผลการศึกษาของ กมธ.ไม่ได้เอามาจากแรงกดดันเหล่านั้นมา ไม่ได้หยิบยกขึ้นมาพิจารณาเพราะการจัดม็อบ”
Q : ถ้ารัฐบาลไม่เอาด้วยถือว่าปิดประตูการแก้รัฐธรรมนูญไปได้เลย
ผมตอบแทนรัฐบาลไม่ได้ รัฐบาลอาจจะมีร่างของรัฐบาล ถ้าอย่างนั้นท่านนายกฯก็ไม่ได้ปิดประตู ท่านอาจจะขอดูรายงานของ กมธ.ก่อน
Q : ร่างของท่านนายกฯจะแตกต่างจากร่างของ กมธ.อย่างไร
เท่าที่ได้สัมผัสกับท่านมา ผมคิดว่า ท่านเป็นคนมีเหตุผล ไม่ได้เอาความคิดของตัวเองเป็นใหญ่ ท่านจะรับฟังคนอื่นทุกครั้ง ท่านคงฟังหลายฝ่าย เสียงส่วนใหญ่เห็นอย่างไรท่านก็ยอมรับ
Q : ใน กมธ.ประเด็นใดฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านเห็นตรงกันว่าจะต้องแก้ไข
ระบบเลือกตั้งมีทั้งเห็นด้วยว่า เอาแบบบัตรสองใบ และเห็นด้วยว่า แบบนี้ (บัตรใบเดียว) ดีแล้ว ฟังจากเสียง ก้ำกึ่ง
Q : ใครมีหน้าที่ชี้ขาดว่าควรแก้หรือไม่แก้รัฐธรรมนูญ
ถ้าหากทางรัฐบาลเห็นว่า ต้องปรับปรุง แก้ไขรัฐธรรมนูญจริง และอยากจะเอาร่างของ กมธ.เป็นไกด์ไลน์ ที่อาจจะมีการตั้งต่อไป อาจเป็น ส.ส.ร. เป็นคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
Q : การตั้ง ส.ส.ร.ต้องแก้มาตรา 256
เป็นส่วนหนึ่งของการแก้รัฐธรรมนูญ แต่การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส.ร.เสมอไป ขึ้นอยู่กับทางรัฐบาลจะพิจารณา ไม่ได้แปลว่า รัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนไว้แล้วจะทำใหม่ไม่ได้ เมื่อถึงเวลาถ้าจะทำก็ต้องหาวิธีทำจนได้
Q : กระบวนการแก้รัฐธรรมนูญจะเร่งเร้าแค่ไหนเมื่อมาถึงมือรัฐบาล
ตอบไม่ได้เป๊ะ ๆ เพราะไม่มีอำนาจชี้ขาด เท่าที่ฟังจากนายกฯ ท่านบอกว่า การประชุมสภาสมัยหน้าคงจะมีร่างของรัฐบาลประกบ รัฐบาลคงไม่มีอะไรขัดข้อง แต่การแก้ไขจะตรงกันแค่ไหน ผมตอบไม่ได้ แต่ผมคิดว่า รัฐบาลเห็นด้วยกับการปรับปรุงรัฐธรรมนูญหลายเรื่อง เช่น ระบบกฎหมาย
Q : หัวใจ คือ ส.ว. ท่านนายกฯควรส่งสัญญาณให้ชัดเจน
ถ้าสังคมเห็นว่า เป็นการทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว สังคมก็จะกดดันเอง
Q : รัฐธรรมนูญฉบับปี”60 ประเด็นใด
แตะได้-แตะไม่ได้แตะทุกหมวด ยกเว้น หมวด 1 หมวด 2
Q : การเลือกตั้งสมัยหน้าบนพื้นฐานของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ตอบไม่ได้ หากรัฐบาลแก้ไขเป็นรายมาตรา ก็คือรัฐธรรมนูญเก่า ถ้าจะยกร่างใหม่ ก็ต้องเลือกตั้งด้วยรัฐธรรมนูญใหม่
Q : ความอันตรายของการแก้เป็นรายมาตรา กับการแก้ทั้งฉบับคืออะไร
ถ้าเราทำให้รัฐธรรมนูญเป็นรัฐธรรมนูญของประชาชน เน้นสิ่งที่ประชาชนจะได้จากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ชีวิตคนจะดีขึ้นอย่างไร ชีวิตคนจะได้รับการคุ้มครองอย่างไรประชาชนจะกลับมาสนใจรัฐธรรมนูญมากขึ้น หัวใจของรัฐธรรมนูญไม่ใช่การเลือกตั้ง หัวใจของรัฐธรรมนูญ คือ คุ้มครองประชาชนที่อยู่ในประเทศนี้ คุ้มครองจากอำนาจรัฐ กระบวนการยุติธรรมที่ไม่ถูกต้อง คุ้มครองจากประชาชนด้วยกันที่สิทธิละเมิด สิ่งเหล่านี้ต้องมีคำตอบให้กับประชาชน วันนั้นประชาชนจะรู้สึกว่ารัฐธรรมนูญเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง
Q : จะคืนสิทธิเลือกนายกรัฐมนตรีให้มาจาก ส.ส. ไม่ใช่ ส.ว.
ประชาชนได้ประโยชน์ตรงไหน ถ้านายกรัฐมนตรีมาจาก ส.ส. แต่สิทธิอื่น ๆ ในรัฐธรรมนูญไม่ได้รับการแก้ไข ไม่ได้พูดถึง แล้วนายกฯคนนั้นจะช่วยอะไรประชาชนได้ แล้วจะทำไปเพื่ออะไร เราจะมัวขัดแย้งในจุดนี้ไปเพื่ออะไร
“เพื่อให้ใครได้ประโยชน์ ให้ประชาชนหรือใครได้ประโยชน์ สิ่งที่คุณเรียกร้องเพื่อให้นักการเมืองไม่กี่พรรค หรือคนไม่กี่คนที่ได้ประโยชน์ คุ้มไหมกับสิ่งที่เราทำไป”
"มันง่าย" - Google News
August 23, 2020 at 08:00PM
https://ift.tt/3lmzuQq
พีระพันธุ์ : ไกด์ไลน์แก้รัฐธรรมนูญ ไม่สนอิทธิพลม็อบ-ไม่แตะอำนาจ ส.ว. - ประชาชาติธุรกิจ
"มันง่าย" - Google News
https://ift.tt/36QbjCT
Home To Blog
No comments:
Post a Comment