Pages

Wednesday, August 5, 2020

มะเร็งชนิดร้ายแรงโผล่ในฟอสซิลกระดูกน่องไดโนเสาร์ 77 ล้านปี - บีบีซีไทย

karitosas.blogspot.com

เซนโทรซอรัสเป็นไดโรเสาร์กินพืชชนิดหนึ่ง มีชีวิตอยู่เมื่อราว 77 ล้านปีก่อนในแคนาดา

ฟอสซิลของไดโนเสาร์กินพืช "เซนโทรซอรัส" (Centrosaurus) ซึ่งพบที่รัฐอัลเบอร์ตาของประเทศแคนาดา เมื่อปี 1989 ถูกนำมาศึกษาวิเคราะห์อีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่ทีมแพทย์และนักวิทยาศาสตร์จะลงความเห็นว่า สัตว์ดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 76-77 ล้านปีก่อนตัวนี้ ป่วยด้วยโรคมะเร็งกระดูกชนิดร้ายแรงแบบเดียวกับที่พบในคนยุคปัจจุบัน

ร่องรอยของมะเร็งที่ลุกลามไปมากแล้วถูกพบในกระดูกน่อง (fibula) ที่มีลักษณะบิดเบี้ยวผิดรูป โดยในตอนแรกนักบรรพชีวินวิทยาคาดว่าเป็นเนื้อกระดูกส่วนเกินที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อซ่อมแซมส่วนที่แตกหัก แต่เมื่อมีการพิจารณากันอีกครั้งในปี 2017 จึงเกิดข้อสันนิษฐานใหม่ว่า อาจเป็นร่องรอยของโรคบางอย่างเช่นมะเร็งกระดูกก็เป็นได้

มีการจัดตั้งคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแม็กมาสเตอร์และพิพิธภัณฑ์หลวงรัฐออนแทรีโอของแคนาดา ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านบรรพชีวินวิทยาและการแพทย์หลากหลายแขนง ทั้งด้านพยาธิวิทยา รังสีวิทยา และศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ ซึ่งมาร่วมกันวินิจฉัยรอยโรคดังกล่าว โดยรวบรวมข้อมูลจากการทำซีทีสแกน และใช้กล้องจุลทรรศน์ตรวจสอบชิ้นตัวอย่างของกระดูกในระดับเซลล์

รายงานวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Lancet Oncology ชี้ว่าไดโนเสาร์โชคร้ายตัวนี้ ป่วยด้วยโรคมะเร็งกระดูกชนิดออสทีโอซาร์โคมา (Osteosarcoma) ซึ่งพบได้ในมนุษย์ยุคปัจจุบันเช่นกัน โดยมะเร็งอยู่ในระยะที่ลุกลามไปมากแล้ว มีเนื้อร้ายครอบคลุมกระดูกน่องส่วนกลางและส่วนบน และน่าจะกระจายไปที่อวัยวะอื่นเช่นปอดแล้วด้วย

อย่างไรก็ตาม มะเร็งกระดูกชนิดร้ายแรงไม่ได้เป็นสาเหตุการตายของไดโนเสาร์ตัวนี้โดยตรง เนื่องจากพบซากฟอสซิลของมันในชั้นดินตะกอน ซึ่งเป็นที่สะสมของกระดูกไดโนเสาร์จำนวนมหาศาล อันเป็นหลักฐานชี้ว่ามันน่าจะตายลงพร้อมกับเพื่อนร่วมฝูงในเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่

ฟอสซิลกระดูกน่องของไดโนเสาร์ที่เป็นมะเร็ง สีเหลืองในภาพสแกนทางฝั่งขวาคือเนื้อร้ายที่ลุกลามไปมากแล้ว

แต่การที่กระดูกขาส่วนสำคัญถูกมะเร็งกัดกิน น่าจะทำให้เซนโทรซอรัสตัวนี้เคลื่อนไหวได้ลำบาก และตกเป็นเป้าของนักล่าอย่างทีเร็กซ์ได้ง่าย เว้นเสียแต่มันจะได้รับการปกป้องช่วยเหลือจากฝูงที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ ทำให้ยังมีชีวิตอยู่รอดได้นานกว่าที่ควรจะเป็น

มะเร็งกระดูกชนิดออสทีโอซาร์โคมา พบได้มากในช่วงอายุ 20-30 ปีแรกของชีวิต โดยกระดูกจะขยายใหญ่ขึ้นผิดปกติหรือผิดรูป และต่อมาเซลล์มะเร็งจะกระจายลุกลามไปที่กระดูกชิ้นอื่น ๆ รวมทั้งอวัยวะต่าง ๆ

ทีมผู้วิจัยบอกว่า การค้นพบนี้เน้นย้ำถึงความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องทางชีวภาพระหว่างมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ภายในอาณาจักรสัตว์ ทั้งยังช่วยพิสูจน์สมมติฐานที่ว่า มะเร็งชนิดนี้มักเกิดขึ้นในช่วงวัยที่กระดูกกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ การค้นพบความเกี่ยวข้องระหว่างโรคในคนกับโรคในสัตว์ดึกดำบรรพ์ จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์มีความเข้าใจถึงวิวัฒนาการและพันธุกรรมของโรคหลายชนิดได้ดีขึ้นด้วย

Let's block ads! (Why?)



"มันง่าย" - Google News
August 04, 2020 at 11:24PM
https://ift.tt/3kajxvY

มะเร็งชนิดร้ายแรงโผล่ในฟอสซิลกระดูกน่องไดโนเสาร์ 77 ล้านปี - บีบีซีไทย
"มันง่าย" - Google News
https://ift.tt/36QbjCT
Home To Blog

No comments:

Post a Comment