Pages

Wednesday, June 3, 2020

อนาคตของ Starbucks หลังยุคโควิดจะเป็นอย่างไร เมื่อการสร้างประสบการณ์ไม่ง่ายเหมือนเดิม - Brand Inside

karitosas.blogspot.com

อย่างที่ Starbucks ได้เคยบอกไว้เสมอว่าต้องการเป็น “บ้านหลังที่ 3” หรือ “Third Place” มาตั้งแต่วันแรกๆ ของการทำธุรกิจ เพราะดื่มกาแฟไม่ใช่แค่เรื่องของเครื่องดื่มเท่านั้น หากแต่มันคือการดื่มด่ำบรรยากาศและประสบการณ์

แก้วกาแฟ การเคลื่อนไหวของบาริสต้า กลิ่นเบเกอรี่ในร้าน การสัญจรไปมาของผู้คน เสียงสนทนาที่ว่ายเวียนอยู่รอบตัวเรา ฯลฯ

แต่หลายสิ่งต้องเปลี่ยนไป เมื่อเจอเข้ากับวิกฤตโควิด วิกฤตที่มี “เชื้อไวรัส” เป็นแกนกลางซึ่งทำลายสิ่งที่ Starbucks วาดฝันและวางรากฐานมายาวนาน (เอาเข้าจริง มีอีกหลายธุรกิจที่ต้องการเชื่อมต่อผู้คนเข้าด้วยกันในทางกายภาพก็ได้รับผลกระทบโดยตรงเช่นกัน เช่น ธุรกิจสาย Co-Space ทั้งหลาย)

คำถามคือ Starbucks จะแก้เกมนี้อย่างไร ในยุคที่การนั่งจิบกาแฟในร้านไม่ง่ายเหมือนเดิม คำถามเหล่านี้สำคัญ เพราะคุณค่าที่แท้จริงของ Starbucks คือ “ประสบการณ์” เนื่องจากลำพังเพียงแค่เครื่องดื่มราคาแพง ลูกค้าจะซื้อที่ไหนก็ได้

เราลองไปสำรวจกันว่า อะไรคือโอกาสใหม่ที่จะเป็นอนาคตของ Starbucks หลังยุคโควิดกันบ้าง

Starbucks
Starbucks Photo: Shutterstock

ประวัติของ Starbucks ความต้องการเป็น Third Place ของลูกค้า

ตั้งแต่แรกเริ่ม Starbucks คือร้านขายเมล็ดกาแฟซึ่งก่อตั้งมาในในปี ค.ศ. 1971

จากนั้นในปี ค.ศ 1987 ผู้ก่อตั้งทั้ง 3 คน ได้ขายบริษัทให้แก่ Howard Schultz ซึ่งเขาเป็นผู้ผลักดันให้ Starbucks ก้าวไกลระดับโลก (ก่อนหน้านี้เขาเคยลงสมัครตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาในปี 2020 ด้วย) และแน่นอน เป็นวิสัยทัศน์ของ Schultz อีกเช่นกันที่อยากพัฒนา Starbucks จากร้านขายเมล็ดกาแฟธรรมดาเป็น “คาเฟ่สไตล์อิตาเลียน” และเป็นเสมือนบ้านหลังที่ 3 ของชาวอเมริกัน รองลงมาจากบ้านและสถานที่ทำงาน

Rae Oldenburg อธิบายความหมายของ “บ้านหลังที่ 3” หรือ “Third Place” ในหนังสือ The Great Good Place: Cafés, Coffee Shops, Bookstores, Bars, Hair Salons and Other Hangouts at the Heart of the Community ว่าหมายถึงสถานที่ส่วนรวมซึ่งมีบรรยากาศสบายๆ และเป็นกันเอง โดยเป็นพื้นที่ที่ผู้คนจะมารวมตัวกันอย่างมีความสุข นอกเหนือจากบ้านและที่ทำงาน 

ในหนังสือ The Green Book (2014) Starbucks ระบุไว้ว่า “การสร้างประสบการณ์ให้คนอยากกลับมาใช้บริการซ้ำ ขึ้นอยู่กับปัจจัย  3 อย่าง คือ สินค้า สถานที่ และพนักงานของร้าน”

ความสำคัญของ “สถานที่” ที่มากกว่าสถานที่

คำว่าบ้านหลังที่ 3 เป็นมากกว่าสถานที่ แต่มันคือการนิยามตัวตนของคนเราดังคำของ Eudora Welty นักเขียนนิยายชาวอเมริกันที่เคยกล่าวไว้ว่า “ความเป็นตัวตนของคนเรามีความเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่เราไป”

แบรนด์ Starbucks ผูกพันอยู่กับสถานที่ ทั้งภายในและภายนอกร้าน Starbucks เปรียบเสมือนโลกสำหรับผู้ที่หลงรักบรรยากาศร้านกาแฟ ดังนั้นการที่ Starbucks วางตัวเองเป็นบ้านหลังที่ 3 มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเร็วช้าเหมือนกับการขายแบบ drive-thru หรือ grab-and-go แต่ขึ้นอยู่กับ การผ่อนคลายและความสะดวกสบายของลูกค้า

Starbucks
Starbucks Photo: Shutterstock

เป้าหมายของ Starbucks คืออยากมอบความรู้สึกที่หลากหลายให้แก่ลูกค้า อยากสร้างสังคมของคนรักร้านกาแฟ ด้วยบรรยากาศที่ห้อมล้อมไปด้วยบทสนทนาของผู้คน เสียงดนตรี เสียงบดเมล็ดกาแฟ เสียงเครื่องชงเอสเพรสโซ่ เสียงเครื่องทำฟองนม ฯลฯ

การจะคงความเป็นบ้านหลังที่ 3 ของ Starbucks ต้องพึ่งพาพื้นที่/สถานที่เพื่อสร้างประสบการณ์ แต่ในวิกฤตโควิดทำให้ Starbucks เห็นแล้วว่า แม้พื้นที่จะสำคัญ แต่ Starbucks ต้องหาหนทางในการสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าต่อไป และต้องทำทุกวิถีทางไม่ให้พื้นที่เป็นอุปสรรค

สิ่งที่ Starbucks ทำเพื่อสู้กับวิกฤตโควิด แต่มันเพียงพอหรือไม่?

  • เปลี่ยนรูปแบบการขายเป็นแบบซื้อกลับบ้าน และ drive-thru

เรื่องนี้เป็นเรื่องเข้าใจได้และไม่น่าแปลกใจอะไร เพราะในช่วงที่ไวรัสโควิดระบาด ทาง Starbucks ได้หันมาเน้นรูปแบบการขายเป็นแบบซื้อกลับบ้านและ drive-thru มากขึ้นอยู่แล้ว แต่คำถามคือ เมื่อ Starbucks จะกลับมาเปิดร้านอีกครั้งจะสูญเสียความเป็นบ้านหลังที่ 3 หรือไม่ เพราะผู้คนเข้ามาซื้อแล้วจากไป จะต่างอะไรจากกาแฟแบรนด์อื่นๆ ประกอบกับกระแส Work From Home นี่คือโจทย์ที่ท้าทายของ Starbucks

  • จัดโปรแกรมชิมกาแฟให้กับลูกค้า

ถ้าใครเคยไปไร่องุ่นที่ขายไวน์ ย่อมรู้ดีว่า ที่นั่นจะมีบริการให้ลูกค้าทดลองชิมไวน์ที่ไร่ด้วยเลย วิธีการแบบนี้ Starbucks ก็ทำแล้ว โดยทดลองให้ลูกค้ามารับเมล็ดกาแฟจากร้าน และเลือกเวลาที่จะทดลองชิมกาแฟกับคนอื่นๆ โดยจะมีบาริสต้าของ Starbucks เป็นผู้ทดลองชิมด้วย (วิธีการนี้ต้องทำแบบ New Normal เช่น เว้นระยะห่างตอนทำกิจกรรมชิมกาแฟ จำกัดปริมาณการเข้าร้านของลูกค้าในแต่ละรอบ เป็นต้น) 

  • เปิดคลาสสอนทำกาแฟส่งตรงถึงหน้าจอของลูกค้า

Starbucks เปิดคลาสสอนชงกาแฟ นำบาริสต้ามาแชร์เคล็ดลับการชงกาแฟแก้วโปรดของแต่ละคนให้ ช่วงนี้ถือเป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับกิจกรรมนี้ เพราะคนนิยมอบเบเกอรี่ทานที่บ้านมากขึ้นซึ่งเป็นเมนูที่สามารถทานคู่กับกาแฟได้และคนก็ชอบที่จะรับชมสิ่งใหม่ๆ อีกด้วย

ก้าวต่อไปและอนาคตของ Starbucks

เป้าหมายของ Starbucks คือมอบประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้าในทุกๆ วัน ดังนั้นแบรนด์ใหญ่อย่าง Starbucks ต้องทำทุกวิธีทางเพื่อรักษาคุณค่าที่แท้จริงของแบรนด์

หากการกลับมาเปิดร้านอีกครั้งของ Starbucks ทำเหมือนร้านอาหารจานด่วนทั่วไป นั่นก็จะทำให้ Starbucks ไม่มีความแตกต่างและสูญเสียคุณค่าที่แท้จริงของแบรนด์ไป 

การรักษาคุณค่าของแบรนด์ และการดึงสังคมแห่งคนรักร้านกาแฟกลับมาด้วยแนวทางที่สร้างสรรค์จึงกลายเป็นโจทย์สำคัญของ Starbucks ในยุคช่วงหลังโควิดนั่นเอง

อ้างอิงข้อมูล – Forbes, Starbucks

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

Let's block ads! (Why?)



"มันง่าย" - Google News
June 03, 2020 at 02:20AM
https://ift.tt/3gM3HG5

อนาคตของ Starbucks หลังยุคโควิดจะเป็นอย่างไร เมื่อการสร้างประสบการณ์ไม่ง่ายเหมือนเดิม - Brand Inside
"มันง่าย" - Google News
https://ift.tt/36QbjCT
Home To Blog

No comments:

Post a Comment