Pages

Thursday, June 11, 2020

“ทราย” สาวอินดี้ ทิ้งงานสบายเงินเดือนหลายหมื่น มาปั่นจักรยานส่งอาหาร ชี้ถ้ามีวินัย สร้างเงินเก็บได้! - ผู้จัดการออนไลน์

karitosas.blogspot.com


รายการ ฅนจริงใจไม่ท้อ วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา พาคุณผู้ชมไปรู้จัก “ทราย-ดาริสา” ผู้ยอมทิ้งงานเงิอนเดือนหลายหมื่น มาเป็นพนักงานส่งอาหารด้วยการปั่นจักรยาน ซึ่งเธอยืนยันว่า เศรษฐกิจแบบนี้ งานนี้ตอบโจทย์เธอที่สุด

ในช่วงโควิด-19 ระบาด หลายๆ อาชีพต่างได้รับผลกระทบไปตามๆ กัน แต่ดูเหมือนอาชีพที่ไม่ซบเซา ตรงกันข้าม กลับเฟื่องฟูขึ้น นั่นคือ บริการรับ-ส่งอาหาร (Food Delivery) ซึ่งหลายคนอาจเริ่มหันมาเอาดีในการเป็นพนักงานส่งอาหารกันบ้างแล้ว เช่นเดียวกับ ทราย ดาริสา ธรรมสถิร สาววัย 37 ที่ผ่านงานมาหลากหลายรูปแบบ เคยได้ค่าตอบแทนเดือนละหลายหมื่น แต่สุดท้ายกลับทิ้งงานที่รายได้ดีเหล่านั้น และเลือกที่จะทำงานบริการส่งอาหารด้วยการปั่นจักรยาน


“ก่อนหน้านี้ก็ทำงานมีทั้งฟรีแลนซ์ทั้งประจำ ส่วนใหญ่อยู่ในแวดวงความสวยความงาม เป็นช่างแต่งหน้า พนักงานขายเครื่องสำอาง เป็นพนักงานนวด นวดหน้านวดตัว เคยเรียนตัดผมอะไรมาบ้าง ในส่วนรายได้ ถ้าอยู่ในห้างที่เป็นสาขานอกเมืองหน่อยหรือเล็กลงมาหน่อย รายได้ก็อยู่ที่ประมาณ 20,000-30,000 ได้ถึง 30,000 กว่า แต่ถ้าอยู่ในสาขาที่ใหญ่ขึ้น ก็มีแตะ 40,000 เลย”


อยากมีวันหยุดที่ยืดหยุ่น-มีเวลาดูแลแม่

“สาเหตุที่เปลี่ยนงาน ตอนนั้นคิดว่า อยากมีวันหยุดที่ยืดหยุ่นขึ้น หลายเรื่องเหมือนกัน ทั้งเรื่องสุขภาพด้วย อาจจะอายุเยอะแล้ว เราได้ย้อนกลับมาคิด คุณแม่อายุเยอะแล้ว บางทีตอนไป รพ.บางทีเราก็อยากไปเป็นเพื่อน แต่เราก็ต้องทำงานไง”


เริ่มมองหางานที่ “ใช่”

“ตอนนั้นอยากทำธุรกิจส่วนตัว อยากขายออนไลน์ จริงๆ ยอมรับเลยว่า เห็นคนที่ขายของออนไลน์ ดูเหมือนง่ายเนอะ แต่พอเรามาทำจริงๆ เรารู้สึกว่า มันมีหลายอย่างที่มันไม่ใช่ตัวเรา เราเป็นคนที่ ในสายตาเพื่อนๆ จะบอกเลยว่า เราอินดี้ แต่จังหวะนั้นเอง ก็เริ่มมีเขาเรียกว่า การเดินส่งอาหารเข้ามา เราก็เลยลองมาทำดู คิดว่ามันไม่ได้ไกลเกินเอื้อมที่เราจะทำได้ เรารู้สึกว่า การบริการเพื่อจะได้เงินมา มันเป็นเรื่องที่เราทำอยู่แล้ว แล้วมันก็ชิน (ถาม-ไม่ได้คิดว่าเป็นงานไม่มีศักดิ์ศรีหรือตากแดดหน้าดำ ตอนนั้นคิดไหม?) มันได้เงินไง จบแล้ว (ถาม-ได้เงินแล้ว ความสวยไม่ห่วงแล้ว?) ก็ยังสวยได้อยู่ สมัยเดินนะ ดัดลอน แต่งหน้า ติดขนตาปลอมไปเดิน ก็มี ก็สวย”


จากส่งอาหารด้วยการเดิน สู่การปั่นจักรยาน มีเทคนิคให้ได้งานเยอะๆ อย่างไร?

“สังเกตว่า แถวไหนที่มีร้านอาหารเยอะๆ สิ่งสำคัญคือชุมชนรอบๆ มีคอนโดฯ ไหม มีคนอาศัยอยู่เยอะแค่ไหน ยิ่งหนาแน่น ยิ่งใกล้กับโซนร้านอาหาร งานสั้นก็จะยิ่งมีโอกาสสูงขึ้น ที่สำคัญ เราจะทำการบ้านโดยการเปิดเข้าไปดูในแอปของลูกค้าด้วยว่า ลูกค้าจะเห็นร้านอาหารในแอปพลิเคชั่น ร้านไหนเป็นอันดับต้นๆ วันนี้มีโปรโมชั่นที่ไหน มักจะมียอดซื้อที่สูงกว่าปกติ เราก็ศึกษาจากตรงนี้ ก่อนออกจากบ้านดูได้ด้วยว่า ร้านค้าในแอปพลิเคชันนี้ปิดหรือเปล่า บางทีถ้าร้านปิด เราไปรอ ปกติเขาขายดีนะ แต่ไปรอใกล้ๆ ปรากฏร้านเขาไม่เปิด”


แต่ละวัน ปั่นจักรยานส่งอาหาร 50-80 กม.

“ถ้า 1 งาน จะอยู่ที่ตั้งแต่ไม่กี่ร้อยเมตร ไปจนถึงหลาย กม. จากเราไปถึงร้านค้าไม่เกิน 1.5 กม. จากร้านค้าไปลูกค้าไม่เกิน 1.5 กม. 1 จ๊อบจะอยู่ที่ 0.0-3.0 กม. วันหนึ่งประมาณ 50-80 กม.แล้วแต่วันนั้นจะได้งานสั้นงานไกล เฉลี่ยกันไป”


ทุกคนต้องมีบาดแผล เรียนรู้ อย่าเครียด

“พลาดเยอะ ก็มีหลายอย่าง บางทีเรามองข้าม มองผ่าน เราไม่ได้คิดว่า ลูกค้าจะรู้สึก แต่รู้สึก ในกล่องคอมเม้นท์ ทุกคนจะมีบาดแผล แต่เราจะเอาคอมเม้นท์ของลูกค้ามาเครียดหรือมาทำให้เราพัฒนาการบริการลูกค้าให้ดีขึ้น หลายๆ ครั้งเราอาจจะไม่ได้วางอาหารในจุดที่เหมาะสม อาหารมีความไม่สมบูรณ์อยู่ เราก็ต้องปรับ กระเป๋าหรือที่ใส่อาหารมาให้เหมาะสมกับอาหารของลูกค้า ทำไปสักพักแล้วจะเริ่มรู้”


เคยท้อหรืออยากเลิกทำงานนี้ไหม?

“ก็มีช่วงหนึ่งที่เหนื่อยมากๆ ช่วงนั้นทำเยอะจริงๆ 30 งานต่อวัน 28 งานต่อวัน ตอนแรกก็อยากเอาชนะตัวเอง แต่พอทำไปเรื่อย เหมือนมันน็อก พอน็อก ก็รู้สึกว่าเหนื่อย และมีบางวันที่นอยด์ขึ้นมา และไม่อยากออกไปทำงาน ด้วยร่างกายเราด้วย แต่สิ่งหนึ่งที่มันดึงเราออกไปทำงานได้คือ วินัย อันนี้นอกเหนือจากความรู้สึก ถ้าเราใช้ความรู้สึก ในการทำงานมากเกินไป ความแพ้ของเรา ก็แพ้ความรู้สึกนี่แหละ วินัยคือสิ่งที่ ถ้าเราไม่ทำตาม มันก็ไม่มีใครมาลงโทษเราเนอะ แต่ถ้าเราทำ มันก็จะมีประโยชน์กว่าไม่ทำ”


งานสอนให้รู้จักอดทน ทำงานให้สนุก แล้วจะมีความสุขกับงาน

“ถ้าคนที่เป็นพนักงานส่งอาหาร ทนอะไรได้สัก 5-6 อย่าง เขาจะรวยเลยนะ ไม่ใช้คำว่า ทำได้ดีกว่า ทำได้ดีเลย คือ ทนแดดร้อน ทนฝนตก ทนรถติด การจราจรติดขัด จักรยานก็โดนนะ บางทีคนเดินเยอะๆ ก็เดินทางลำบาก ทนการรอของนาน ทนหิ้วของหนัก ความอดทนในการเดินทาง ถ้าเราสามารถอยู่กับสิ่งเหล่านี้โดยที่ไม่ใช้คำว่า อดกลั้น เราใช้คำว่า มีความสุข การใช้ชีวิตรูปแบบนี้อยู่กับมัน เหมือนการเอาชนะตัวเอง ทรายมองว่า เราทำงานนี้ได้อย่างมีความสุขเลยนะ เราเริ่มเรียนรู้ เราเริ่มสนุกกับมัน เริ่มใช้วิธีในการแก้ปัญหา เราเริ่มเรียนรู้ว่า งานตรงนี้ ต้องเลี่ยงยังไง แก้ไขยังไง ไม่ได้ก็ต้องอยู่กับเขา เพียงแต่เราจะอยู่ให้มันสนุกขึ้น มันสนุกนะ (ถาม-เรามีสิทธิปฏิเสธไหม?) บางออเดอร์ เรามีสิทธิปฏิเสธนะ แต่เราก็มองว่า มันเป็นงานที่ลูกค้าอยากจะกิน ลูกค้าก็รู้อยู่แล้วว่า ร้านนี้รอนาน สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นเหตุผลที่ทำให้เรามีงานทำ ถ้าทุกอย่างมันง่าย เช่น ไปถึงรับของได้เลย กลับมาไม่เหนื่อย ไม่ร้อน ไม่อะไรเลย เราจะไม่มีงาน เพราะลูกค้าเขามาทำเองก็ได้”


ยืนยัน อาชีพพนักงานส่งอาหาร ช่วยให้มีเงินเก็บได้

“หลายคนมองว่า งานแบบนี้มันไม่โต แต่เรามองว่า ถ้าเรามีวินัยกับเขาจริงๆ มันคือรายได้ที่เราสามารถจะเก็บเงินได้ก้อนหนึ่งเลยนะ เพราะต้นทุนในการดำเนินชีวิตไม่สูงมาก ถ้าไม่นับภาระอื่นๆ ข้างหลัง นับแค่กิน ค่ารถ อย่างไปทำงานออฟฟิศ ค่ารถเกิน 3,000-4,000 แน่นอน อันนี้มันตัดตรงนั้นออกไปแล้ว ดังนั้นรายได้ที่อาจดูไม่ได้มากนัก แต่พอดูเงินเหลือแล้ว มันเป็นเงินก้อนหนึ่งที่จะทำให้เราเก็บไว้ทำอะไรในอนาคตได้อีกระดับหนึ่งเลย”


ส่วนจะยึดอาชีพนี้อีกนานแค่ไหน ทราย ดาริสา บอกว่า ณ ขณะนี้ เศรษฐกิจแบบนี้ อาชีพนี้น่าจะตอบโจทย์ตนเองที่สุดแล้ว ส่วนอนาคต ถ้าจังหวะเหมาะหรือมีงานอื่นเข้ามา และสังขารตนเองไปต่อไม่ได้กับอาชีพตรงนี้ ก็ค่อยว่ากัน ซึ่งยอมรับว่า ต้องมีการวางแผน และพยายามบอกตัวเอง รวมถึงน้องๆ ที่เป็นพนักงานส่งอาหารว่า ให้ทำบัญชี ให้รู้จักเก็บเงิน อย่าใช้หมดไปวันๆ


ติดตามรับชมรายการ ฅนจริงใจไม่ท้อ ได้ ทุกวันเสาร์ เวลา 09.00-09.30 น. ทางสถานีโทรทัศน์ NEWS1 ( IPM ช่อง 64 / PSI ช่อง 211 )

หรือรับชมรายการย้อนหลังได้ที่เพจ ฅนจริงใจไม่ท้อ https://web.facebook.com/KonJingJaimaitor/
หรือยูทูบฅนจริงใจไม่ท้อ https://www.youtube.com/channel/UCsb4sLqdHs35km4uQ_tOCjQ/videos


Let's block ads! (Why?)



"มันง่าย" - Google News
June 11, 2020 at 03:45AM
https://ift.tt/2UAsjbr

“ทราย” สาวอินดี้ ทิ้งงานสบายเงินเดือนหลายหมื่น มาปั่นจักรยานส่งอาหาร ชี้ถ้ามีวินัย สร้างเงินเก็บได้! - ผู้จัดการออนไลน์
"มันง่าย" - Google News
https://ift.tt/36QbjCT
Home To Blog

No comments:

Post a Comment